CSD ในปัจจุบัน ของ วันถนนคริสโตเฟอร์

แทบทุกเมืองใหญ่ในเยอรมนีจะมีการจัดงานดังกล่าวขึ้น ซึ่งงานใหญ่ที่สุดจะจัดขึ้นที่เมืองโคโลญ (โดยใช้ชื่องานภาษาอังกฤษว่า Cologne Pride) และเมืองเบอร์ลิน ขบวนพาเหรดและการเดินขบวนในงานวันถนนคริสโตเฟอร์ จะนำเสนอความน่าสนใจที่คล้ายคลึงกัน อย่างเช่น ขบวนแห่หรือพาเหรดดนตรีเทคโนสมัยใหม่ งานที่เมืองโคโลญในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งเรียกว่า Europride มีผู้ร่วมงานถึง 1.2 ล้านคน (ผู้เข้าร่วมขบวนและผู้ชม) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผู้เข้าร่วมงานมีมากกว่างานขบวนแห่ Rosenmontag (โรเซนโมนทาค) ในเทศกาลคาร์นิวัลและถือว่าเป็นงานวันถนนคริสโตเฟอร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปจนถึงปัจจุบัน

งานดังกล่าวในเยอรมนีจะไม่ได้จัดตรงกับที่เกิดขึ้นจริงตามประวัติศาสตร์ นั่นก็คือในวันที่ 28 มิถุนายน แต่จะจัดช่วงสุดสัปดาห์ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม องค์กรต่าง ๆ สมาคมและกลุ่มคนอาสาสมัครจะมีหน้าที่รับผิดชอบจัดขบวนพาเหรดของงานนี้ ในการเดินขบวนด้วยเหตุผลทางการเมืองนี้มักจะมีคำขวัญที่เกี่ยวข้องกัน งานนี้จะแสดงออกผ่านทางขบวนพาเหรดประท้วงและการชุมนุมเรียกร้อง ศิลปินจะสนับสนุนการชุมนุมบ่อยครั้งโดยการเปิดแสดงบนเวที นอกเหนือจากการพูดเรื่องการเมืองแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองด้วย การฉลองให้กับการมีรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นของตัวเองคือที่มาของงานนี้ ผู้ร่วมขบวนจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพวกเขาภูมิใจในตัวเอง รูปแบบการใช้ชีวิตและอัตลักษณ์ทางเพศ (จึงใช้คำว่า Gay Pride สำหรับ CSD ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ)

นอกเหนือจาก พาเหรด CSD และการชุมนุมแล้ว จะมีการจัดงานรื่นเริงอีกหนึ่งวันหรือมากกว่านั้น การจัดสัปดาห์วัฒนธรรมร่วมกับศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย กิจกรรมทางการเมือง การกล่าวปราศรัย กิจกรรมอ่านบนเวทีและงานสังสรรค์

ในปี ค.ศ. 2010 จูดิธ บัทเลอร์ (Judith Butler) นักปรัชญาชาวอเมริกัน ได้ถอนตัวออกจากคณะจัดพาเหรดวันถนนคริสโตเฟอร์ที่เมืองเบอร์ลิน โดยปฏิเสธการเข้ารับรางวัลพลเมืองดีเด่น ในระหว่างการปราศรัยของเธอ เธอแสดงความไม่พอใจต่อการแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดงาน การเพิกเฉยต่อปัญหาการเหยียดผิวและการเลือกปฏิบัติต่อผู้อพยพที่เป็นพวกรักร่วมเพศและผู้แปลงเพศ ที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมเป็นสองเท่า[2] โดยโรแบร์ท คาสท์ (Robert Kastl) ผู้จัดการทั่วไปของคณะกรรมการ CSD ได้แถลงปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดของบัทเลอร์[3]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 มีการจัดงานนี้ที่เมืองฮัมบวร์คขึ้นเป็นครั้งที่ 30 ภายใต้คำขวัญที่ว่า “อย่าดีแต่พูด ขอสิทธิเท่าเทียมกัน” (เยอรมัน: Gleiche Rechte statt Blumen! ) ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับความสนใจอีกครั้งว่า แม้จะมีกฎหมายรับรองการอยู่ร่วมกันของคนรักร่วมเพศ แต่กระนั้นพวกรักร่วมเพศในเยอรมนีก็ยังไม่มีสิทธิความเท่าเทียมเหมือนกับพวกรักต่างเพศ

CSD 2012 เรียกร้องให้เพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ ภายใต้สโลแกนที่ว่า “การสมรส 2.0 – ไม่ใช่แค่หน้าที่แต่เป็นสิทธิที่เลือกได้” (เยอรมัน: Ehe 2.0 – Nach den Pflichten jetzt die Rechte! ) อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองบางพรรคยังปฏิเสธความเท่าเทียมกันดังกล่าว

ใกล้เคียง

วันถนนคริสโตเฟอร์ วันชนะ สวัสดี วันนวมินทรมหาราช วันนักบุญแพทริก วันนั้น วันไหน หัวใจบรรเลง วันนั้น...วันไหน หัวใจจะเป็นสีชมพู วันดนตรีโลก วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล วันไนท์สแตนด์ (2007) วันนกกระจอกโลก